พิพิธภัณฑ์พญาคันคาก ส่องความเชื่อ เรื่องขอฝนของดินแดนอีสาน
พิพิธภัณฑ์พญาคันคาก ส่องความเชื่อ เรื่องขอฝนของดินแดนอีสาน
สวัสดีครับ หากใครที่กำลังสนใจอยากเดินทางไปเที่ยวชมที่ภาคอีสาน แต่ยังไม่มีเป้าหมายว่าอยากไปจังหวัดไหนดี เพราะภาคอีสานของไทยนั้น ต่างก็น่าไปเที่ยว น่าไปเดินชมกันอย่างมากมาย แต่วันนี้ ส่องเลขจะพาไปส่องหนึ่งสถานที่ ที่อยากจะเชิญชวนทุกท่านไปเที่ยวกัน โดยสถานที่นี้อยู่จังหวัด ยโสธร นั่นเองครับ โดยสถานที่นั้นคือ พิพิธภัณฑ์พญาคันคาก ซึ่งที่นี่นั้นมีเรื่องราวในตำนาน ของการที่ฝนตกไว้ด้วย โดยเนื้อหาจะเป็นยังไงบ้างนั้น ไปอ่านกันเลยครับ
ขอบคุณภาพจาก : db.sac.or.th
สำหรับตำนานนั้นมีอยู่ว่า พญาคันคาก เป็นพระโพธิสัตว์ เสวยชาติเป็นโอรสของกษัตริย์ เหตุที่ได้ชื่อว่า พญาคันคาก เป็นเพราะเมื่อครั้งประสูติมีรูปร่างผิวพรรณเหมือนคางคก หรือที่ชาวอีสานเรียกกันว่า คันคาก และถึงแม้พระองค์จะมีรูปร่างอัปลักษณ์ แต่พระอินทร์ก็คอยช่วยเหลือ จนพญาคันคากเป็นที่เคารพนับถือของชาวบ้าน จนลืมที่จะเซ่นบูชาพระยาแถน พระยาแถนจึงโกรธ ไม่ยอมปล่อยน้ำฝนให้ตกลงมายังโลกมนุษย์
ศึกการต่อสู้ระหว่างพญาคันคากและพญาแถนจึงเกิดขึ้น โดยพญาคันคากได้นำทัพสัตว์ต่างๆ ขึ้นไปรบ จนได้รับชัยชนะ พญาแถนจึงปล่อยให้ฝนตกลงมาเช่นเดิม แต่มีข้อแม้ว่าจะต้องจุดบั้งไฟขึ้นไปบูชาเป็นประจำทุกปี จึงเป็นที่มาว่าเมื่อถึงเดือนหกอันเป็นต้นเดือนฤดูฝน ชาวอีสานจึงทำบั้งไฟจุดขึ้นบนฟ้าถวายพญาแถน เพื่อฝนจะได้ตกต้องตามฤดูกาลนั่นเอง
ขอบคุณภาพจาก : tatcontactcenter.com
สำหรับจังหวัด ยโสธร เป็นจังหวัดที่มีประเพณีการปฏิบัติสืบเนื่องกันมาอย่างยาวนาน โดยเฉพาะประเพณีที่เกี่ยวข้องกับศาสนา ความเชื่อ และวิถีชีวิตของชาวยโสธร ซึ่งมีความเชื่อว่าโลกนั้นประกอบด้วย โลกมนุษย์ โลกเทวดา และโลกบาดาล โดยโลกมนุษย์อยู่ภายใต้อิทธิพลของโลกเทวดาซึ่งขาวอีสานเรียกเทวดาว่าพญาแถน ซึ่งพญาแถนมีอิทธิพลต่อ ฝน ฟ้า ลม หากมนุษย์ทำให้พญาแถนโปรดปรานหรือพอใจ ก็จะบันดาลให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล จึงเกิดพิธีการบูชาพญาแถนโดยการใช้บั้งไฟ เพื่อแสดงการเคารพและเป็นการขอฝนจากพญาแถน อันเป็นที่มาของประเพณีบุญบั้งไฟจังหวัดยโสธรอันโด่งดัง
จากตำนานเรื่องเล่าอันถือว่ามีความสำคัญต่อจังหวัดยโสธรดังกล่าวข้างต้น จังหวัดยโสธรจึงจัดสร้าง “วิมานพญาแถน” ขึ้นบริเวณลำทวนเพื่อใช้เป็นสถานที่ที่แสดงถึงวัฒนธรรมประเพณีของจังหวัด เป็นแหล่งท่องเที่ยวและแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญของจังหวัด ซึ่งภายในวิมานพญาแถนนั้นประกอบไปด้วยสิ่งก่อสร้างที่สะท้อนถึงตำนานบุญบั้งไฟของยโสธร คือ อาคารวิมานพญาแถน อาคารพญานาค อาคารพญาคันคาก และประติมากรรมขบวนแห่บั้งไฟ สำหรับอาคารพญาคันคากที่เป็นจุดสนใจของนักท่องเที่ยวนั้น สร้างขึ้นเป็นรูปร่างพญาคันคาก มีความสูง ๑๙ เมตร ภายในอาคารประกอบด้วยพื้นที่จัดนิทรรศการจำนวน ๔ ชั้น ได้แก่
สำหรับ ชั้นที่ 1 แสดงประวัติศาสตร์ความเป็นมาของเมืองยโสธร
ชั้นที่ 2 ตำนานพญาแถนและพญาคันคาก
ชั้นที่ 3 ตำนานและเรื่องราวของบั้งไฟ
และ ชั้นที่ 4 อัตลักษณ์เมืองยโสธร
ขอบคุณภาพจาก : db.sac.or.th
การเข้าเยี่ยมชมภายในอาคารพิพิธภัณฑ์พญาคันคากและอาคารพิพิธภัณฑ์พญานาค
เปิดให้เข้าชมวันพุธ-วันจันทร์ (ปิดวันอังคาร ยกเว้นตรงกับวันหยุดราชการ) วันธรรมดา ช่วงเช้า เวลา 09.00 -12.00 น. ช่วงบ่าย เวลา 15.00 – 18.00 น วันหยุดราชการ ช่วงเช้า เวลา 09.00 -12.00 น. ช่วงบ่าย เวลา 13.00 – 19.00 น.ห้ามนำอาหารและ เครื่องดื่มทุกชนิดเข้าไปภายในอาคารพิพิธภัณฑ์พญาคันคาก และอาคารพิพิธภัณฑ์พญานาค
ขอบคุณภาพจาก : db.sac.or.th
สรุป พิพิธภัณฑ์พญาคันคาก
เนื่องจากมีตำนานการสู้กันระหว่าง พญาคันคาก และพญาแถน เพื่อให้ฝนตกตามฤดูกาล จึงมีการสร้างพิพิธภัณฑ์ขึ้นมา พิพิธภัณฑ์พญาคันคาก ตั้งอยู่ที่ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองยโสธร ยโสธร เปิดให้เข้าชมวันพุธ-วันจันทร์ (ปิดวันอังคาร ยกเว้นตรงกับวันหยุดราชการ) วันธรรมดา ช่วงเช้า เวลา 09.00 -12.00 น. ช่วงบ่าย เวลา 15.00 – 18.00 น วันหยุดราชการ ช่วงเช้า เวลา 09.00 -12.00 น. ช่วงบ่าย เวลา 13.00 – 19.00 น. สำหรับใครก็ตามที่จะเดินทางไป ไปส่องแผนที่มาฝากทุกท่านแล้วครับ สามารถศึกษาเส้นทางและไปเที่ยวชมกันได้เลย
ขอขอบคุณข้อมูลจาก Sanook , ไปด้วยกัน , trueid
> > > ดูทุกที่ ส่องทุกสิ่ง ตัวเลขอยู่แค่เอื้อม < < <
เพียง คลิ๊ก > > > ส่องเลข < < <
> > > อ่านเรื่อง น่าส่อง อื่น ๆ < < <
- ศาลเจ้าพ่อยี่กอฮง กราบไหว้ ขอโชคจากเทพเจ้าหวย
- บรู๊คลิน เบ็คแฮม สละโสด !! ประกาศข่าวดีเตรียมแต่งงานในวัย 21 ปี
- ประเพณีผีตาโขน ส่องประเพณีสุดครื้นเครงในเดือน 7 ของ จ.เลย
- พระเจ้ามุกดอกไม้ สมปรารถนา ศรีเมืองเชียงใหม่
- พระปฐมเจดีย์ เจดีย์ยักษ์ที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุขององค์พระโคตมพุทธเจ้า
- พยากรณ์ชีวิต 12 ลัคนาราศี ตรวจภูมิคุ้มกันดวงชะตา 6 เดือนสุดท้ายของปี 2563
- พญาเต่างอย กราบไหว้เสริมโชคลาภ และอายุมั่นขวัญยืนที่ จ.สกลนคร