ประเพณีผีตาโขน ส่องประเพณีสุดครื้นเครงในเดือน 7 ของ จ.เลย

ประเพณีผีตาโขน ส่องประเพณีสุดครื้นเครงในเดือน 7 ของ จ.เลย

ส่องเลข พาส่องประเพณีทางอีสาน กับ ประเพณีผีตาโขน

ประเพณีผีตาโขน เป็นประเพณีที่มีมาตั้งแต่โบราณ เป็นเทศกาลที่จัดขึ้นใน อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย ตั้งอยู่ทางภาคอีสาน ของประเทศไทย เป็นเทศกาลที่เกิดขึ้นในเดือน 7 ซึ่งมักจัดมากกว่าสามวันในบางช่วง ระหว่างเดือนมีนาคม และกรกฎาคม โดยจัดขึ้นในวันที่ได้รับเลือกให้จัดขึ้นในแต่ละปีโดย คนทรงประจำเมือง ซึ่งงานบุญประเพณีพื้นบ้านนี้มีชื่อเรียกว่า บุญหลวง โดยแบ่งออกเป็นเทศกาล ผีตาโขน, ประเพณีบุญบั้งไฟ และงานบุญหลวง

 

ประเพณีผีตาโขน

 

ประเพณีผีตาโขนมีลักษณะที่ใกล้เคียงกับการบูชาบรรพบุรุษของอาณาจักรล้านช้าง หลวงพระบาง ซึ่งมีอาณาเขตติดกับอำเภอ ด่านซ้าย เชียงคาน และหล่มเก่า ในปัจจุบัน มีการกล่าวกันว่า ผีตาโขนเกิดขึ้นเมื่อครั้งที่พระเวสสันดรและพระนางมัทรี จะเดินทางออกจากป่า กลับสู่เมืองบรรดาผีป่าหลายตนและสัตว์นานาชนิดอาลัยรักจึงพา แห่แหนแฝงตัวแฝงตน มากับชาวบ้านเพื่อมาส่งทั้งสองพระองค์กลับเมือง เรียกกันว่า ผีตามคน จนกลายมาเป็น ผีตาโขน อย่างในปัจจุบัน

ประเพณีผีตาโขน

ประเพณีผีตาโขน เป็นการละเล่นที่เกี่ยวเนื่องกับพิธีกรรม มีวัตถุประสงค์เพื่อบวงสรวงบูชาติดต่อกับผู้ชมดูการละเล่น คือ วิญญาณผีบรรพชน ที่กลุ่มชนชาติพันธุ์ไท-ลาว เชื่อถือร่วมกันว่าบรรพชน คือ ต้นตระกูลเผ่าพันธุ์ผู้ที่สร้างบ้านแปงเมือง บรรพชนเมื่อตายเป็นผี จึงเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ที่น่าเกรงขาม มีอำนาจที่จะดลบันดาลให้ความอุดมสมบูรณ์ หรือความหายนะแก่บ้านเมืองได้ เพื่อเป็นการแสดงความเคารพ เพื่อความอุดมสมบูรณ์พูนสุขของบ้านเมือง เมื่อถึงงานบุญประเพณีสำคัญ ๆ ตามฮีตประเพณี จึงจะต้องทำการ ละเล่นเต้นฟ้อนผีตาโขนเพื่อเซ่นสรวงบูชาให้เป็นที่ ถูกอกถูกใจแก่ผีบรรพชน การละเล่นผีตาโขนจึงเป็นการละเล่นที่มีมาแต่โบราณ และผ่านการ สืบทอดทางพิธีกรรมเป็นสายยาวจากรุ่นต่อรุ่นมาจนถึงปัจจุบัน

 

ประเพณีผีตาโขน

 

ผีตาโขนจึงเป็นการละเล่นส่วนหนึ่งในงานบุญหลวงของอำเภอด่านซ้าย หรือเมืองด่านซ้ายในอดีต นับเป็นการละเล่นที่นำพาให้เกิดความสนุก
สนานและความบันเทิงเป็นหลัก เช่นกันกับการเล่นทอดแห ขายยา และทั่งบั้ง อันเป็นสีสันแห่งการเฉลิมฉลองในงานบุญหลวงและโดยเฉพาะในพิธีอันเชิญพระเวสสันดร และ นางมัทรีเข้าเมือง ตามฮีตเดือนสี่ (บุญเผวส) ของชาวอีสาน ซึ่งชาวด่านซ้าย ได้รวมเอางานบุญฮีตเดือนสี่(บุญเผวส) ฮีตเดือนห้า (บุญสงกรานต์) ฮีตเดือนหก (บุญบั้งไฟ) และฮีตเดือนเจ็ด (บุญซำฮะ) มาจัดขึ้นพร้อมกันในช่วงเดือนเจ็ดของทุกปี ซึ่งมักจะอยู่ระหว่างปลายเดือนมิถุนายนถึงช่วงต้นเดือนกรกฏาคม


ประเภทของ ผีตาโขน

1. ผีตาโขนใหญ่ จะมีลักษณะเป็นหุ่นที่ขึ้นรูปจากโครงไม้ไผ่สานที่มีขนาดใหญ่แล้วห่อคลุมด้วยผ้าหรือกระดาษมีขนาดใหญ่กว่าคนธรรมดาประมาณ ๒เท่า ประดับตกแต่ง รูปร่างเป็นเพศชายและหญิงด้วยเศษวัสดุที่หาได้ในท้องถิ่น มีการประดับอวัยวะเพศที่แสดงออกถึงความเป็นชายและหญิงอย่างชัดเจน ซึ่งเป็นตามความเชื่อในสมัยโบราณที่สื่อว่า อวัยวะเพศของมนุษย์จะแสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ ไม่ใช่ความคิดพิเรนหรือทะลึ่งของผู้ที่เข้ามาร่วมเล่นแต่อย่างใด การจัดงานแต่ละปีจะมีการทำผีตาโขนใหญ่เพื่อร่วมขบวนแห่ เพียง 1 คู่ เท่านั้น คนเล่นจะต้องเข้าไปอยู่ข้างในตัวหุ่น ผู้มีหน้าที่ทำผีตาโขนใหญ่จะมีเฉพาะกลุ่มเท่านั้น เพราะคนอื่นไม่มีสิทธิ์ทำ การทำก็ต้องได้รับอนุญาตจากผีหรือเจ้าก่อน ถ้าได้รับอนุญาตแล้วต้องทำทุกปีหรือทำติดต่อกันอย่างน้อย 3 ปี

2. ผีตาโขนเล็ก ผีตาโขนเล็กเป็นการละเล่นของเด็ก ไม่ว่าเด็กเล็ก เด็กวัยรุ่นหรือผู้ใหญ่ ทั้งผู้หญิงชาย มีสิทธิ์ทำและเข้าร่วมสนุกได้ทุกคน แต่ผู้หญิงไม่ค่อยเข้าร่วมเพราะ เป็นการเล่นค่อนข้างผาดโผนและซุกซน ผู้เข้าร่วมในพิธีนี้จะแต่งกายคล้ายผีและปีศาจใส่หน้ากากขนาดใหญ่ เครื่องแต่งกายของผีตาโขน ส่วนใหญ่มักประกอบด้วย


การละเล่นผีตาโขน

โดยวันแรก จะเป็นวันที่ ชาวบ้านจะช่วยกันสร้างหออุปคุตและทำกระทงเล็ก เพื่อนำไปวางตามทิศต่างๆจำนวนสี่ทิศด้วยกัน บนหอหลวงจะมีร่มขนาดใหญ่กางกั้นไว้ ถือเป็นวันแรกของการทำพิธีในการเอาฤกษ์

วันที่สอง จะเป็นวันที่ทำพิธีอันเชิญพระอุปคุต ในวันนี้จะมีขบวนแห่ผีตาโขนและมีการบรรเลงเครื่องดนตรีพื้นเมืองอย่างครึ้นเครงตลอดเส้นทางการแห่ขบวน ซึ่งจะทำพิธีแห่ไปยังวัด เพื่อทำพิธีบายศรีสู่ขวัญ ในขนวนแห่บรรดาผีตาโขนทั้งหลายก็จะออกมาร่ายรำกันอย่างสนุกสนาน

วันที่สาม ในวันนี้ชาวบ้านจะไปทำบุญตักบาตรที่วัด เลี้ยงอาหารเช้าและเพลแก่พระสงฆ์ ร่มกันฟังเทศน์มหาชาติ พระเวสสันดรชาดก ซึ่งในวันนี้จะไม่มีการละเล่นผีตาโขน จะประกอบพิธีกรรมทางศาสนาและอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้กับบรรพบุรุษผู้ล่วงลับและสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในวัดหรือในพระธาตุ


สรุป ประเพณีผีตาโขน

ประเพณีผีตาโขน เป็นประเพณีที่จัดขึ้นใน อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย ตั้งอยู่ทางภาคอีสาน ของประเทศไทย ปฏิบัติกันมานานจนกลายเป็นเอกลักษณ์ประจำจังหวัดเลย ที่รวมอยู่ในงานบุญหลวงที่มีงานบุญผะเหวดและบุญบั้งไฟและถือเป็นการบูชา อารักษ์หลักเมือง และบวงสรวงดวงวิญญาณอันศักดิ์สิทธิ์ในอดีต ในปัจจุบัน ประเพณีผีตาโขนกลายเป็น ประเพณีที่สามารถสร้างรายได้ในการท่องเที่ยวให้กับจังหวัดเลย และถือเป็นประเพณีที่สืบทอดกันมาของชาวบ้าน ที่ยังคงอนุรักษ์ไว้ให้เยาวชนรุ่นหลังได้ชม และเรียนรู้วัฒนธรรม ประเพณีที่มาช้านาน ซึ่งใครก็ตามที่อยากไปสัมผัสความสนุกสนานของประเพณีนี้ ก็สามารถศึกษาเส้นทางได้จากแผนที่ด้านล่างนี้เลยครับ

> > > ดูทุกที่ ส่องทุกสิ่ง ตัวเลขอยู่แค่เอื้อม < < <
เพียง คลิ๊ก > > > ส่องเลข < < <

ซื้อหวยออนไลน์

> > > อ่านเรื่อง น่าส่อง อื่น ๆ < < <

คาสิโนออนไลน์