ดาวหางนีโอไวส์ ดาวหางที่หากพลาดชมต้องรออีก 7000 ปี
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ชวนชม ดาวหางนีโอไวส์ เข้าใกล้โลกมากที่สุดในวันที่ 23 กรกฎาคม 2563 ชี้โคจรรอบดวงอาทิตย์ 1 รอบ ใช้เวลา 7,125 ปี
เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2563 NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ รายงานว่า ช่วงเดือนกรกฎาคมนี้ ” ดาวหางนีโอไวส์ ” ซึ่งเป็นดาวที่นักดาราศาสตร์ต่างเฝ้าจับตามอง เนื่องจากมีความสว่างจนสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า และมีผู้ถ่ายภาพดาวหางดวงนี้ได้จากทั่วทุกมุมโลก สำหรับประเทศไทยก็สามารถสังเกตได้เช่นกัน แต่เนื่องจากตรงกับช่วงฤดูฝน อาจจะต้องลุ้นเมฆ
ทั้งนี้ สามารถเฝ้าดูดาวหางดวงนี้ได้ในช่วงรุ่งเช้า ก่อนดวงอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออก ตำแหน่งปัจจุบันของดาวหางนีโอไวส์อยู่ในกลุ่มดาวสารถี ( Auriga ) หลังจากนี้ดาวหางจะเคลื่อนที่ขยับไปทางทิศเหนือผ่านกลุ่มดาวแมวป่า ( Lynx )
วันที่ 1 – 16 กรกฎาคม 2563 สามารถสังเกตได้ในช่วงเช้ามืด ใกล้เส้นขอบฟ้า ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ และเมื่อดวงอาทิตย์โผล่พ้นขอบฟ้าจะไม่สามารถมองเห็นได้
ทั้งนี้ ในวันที่ 23 กรกฎาคม 2563 เป็นวันที่ดาวหางนีโอไวส์เข้าใกล้โลกที่สุด หลังจากนั้นความสว่างจะลดลงเรื่อย ๆ จนไม่สามารถสังเกตเห็นได้ ซึ่งดาวหางนีโอไวส์ หรือ C / 2020 F3 ( NEOWISE ) เป็นดาวหางคาบยาว โคจรรอบดวงอาทิตย์ 1 รอบ ใช้เวลา 7,125 ปี
ตัวเลขที่น่าเสี่ยงโชค เกี่ยวกับดาวหาง
93
151 , 401 , 951 , 014
สรุป ดาวหางนีโอไวส์ ดาวหางที่หากพลาดชมต้องรออีก 7000 ปี
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ชวนชมดาวหางนีโอไวส์ เข้าใกล้โลกมากที่สุดในวันที่ 23 กรกฎาคม 2563 ชี้โคจรรอบดวงอาทิตย์ 1 รอบ ใช้เวลา 7,125 ปี
ขอบคุณข้อมูล และรูปภาพจาก NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ , Sky
> > > ดูทุกที่ ส่องทุกสิ่ง ตัวเลขอยู่แค่เอื้อม < < <
เพียง คลิ๊ก > > > ส่องเลข < < <
> > > อ่านเรื่อง น่าส่อง อื่น ๆ < < <
- ศาลเจ้าพ่อยี่กอฮง กราบไหว้ ขอโชคจากเทพเจ้าหวย
- บรู๊คลิน เบ็คแฮม สละโสด !! ประกาศข่าวดีเตรียมแต่งงานในวัย 21 ปี
- ดาวหางนีโอไวส์ ดาวหางที่หากพลาดชมต้องรออีก 7000 ปี
- หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง ศรัทธาที่คงอยู่ไม่เสื่อมคลาย
- พระเจ้ามุกดอกไม้ สมปรารถนา ศรีเมืองเชียงใหม่
- พยากรณ์ชีวิต 12 ลัคนาราศี ตรวจภูมิคุ้มกันดวงชะตา 6 เดือนสุดท้ายของปี 2563
- พญาเต่างอย กราบไหว้เสริมโชคลาภ และอายุมั่นขวัญยืนที่ จ.สกลนคร